วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Travel

สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศญี่ปุ่น




ชิบูยะ (Shibuya) 
เป็น 1 ใน 23 เมืองของโตเกียว เป็นที่นิยมอย่างมากในการช้อปปิ้ง และความบันเทิงทางด้านต่าง ๆ ถือได้ว่าชิบูยะ เป็นหนึ่งในสีสันของโตเกียวเลยทีเดียว

ชินจูกุ (Shinjuku) 
เป็นแหล่งรวมทั้งทางด้านความบันเทิง, ธุรกิจ และห้างสรรพ สินค้า โดยสถานีชินจูกุ ถือได้ว่าเป็นสถานีรถไฟที่มีความวุ่นวายที่สุดในโลก โดยในแต่ละวันสถานีแห่งนี้จะรองรับคนมากกว่า 2,000,000 คนด้วยกัน




โตเกียวทาวเวอร์ (Tokyo Tower)

     โตเกียวทาวเวอร์ (ภาษาญี่ปุ่น: 東京タワー, Tokyo Tower) คือหอคอยสื่อสารขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเขตมินะโตะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีความสูง 332.6 เมตร(1,091 ฟุต) สร้างเเล้วเสร็จเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958)

นอกจากจะเป็นหอคอยที่ไว้ส่งสัญญาณคลื่นวิทยุโทรทัศน์ต่างๆ เช่น NHK TBS ฯลฯ แล้ว โตเกียวทาวเวอร์ยังเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของกรุงโตเกียวอีกด้วย โดยปีหนึ่งจะมีคนเข้าชมหอมากกว่า 2 ล้าน 5 แสนคน บริเวณหอคอยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน ส่วนล่างสุดเป็นอาคารสูง 4 ชั้นที่ตั้งอยู่ใต้หอโดยตรง ภายในประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์ ร้านคา ภัตตาคาร ฯลฯ อีก 2 ส่วนที่เหลือเป็นจุดชมทัศนียภาพของหอคอย ตั้งอยู่บนความสูง 150 เมตร และ 250 เมตรตามลำดับ




วัดอาสะกุสะ หรือวัดเซนโซจิ (Asakusa Kannon Temple/Sensoji Temple)
วัดซึ่งตั้งอยู่ในเขตอาสะกุสะ ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัดที่มีชื่อเสียงที่สุดในโตเกียว




 อิตสึคุชิมะ ศาลเจ้าลอยน้ำ
อิตสึคุชิมะ ศาลเจ้าลอยน้ำ ตั้งอยู่ที่เกาะ มิยาจิม่า Miyajima
ในสมัยก่อนเชื่อกันว่าเกาะมิยาจิม่า เป็นเกาะของเทพเจ้าโดยมีศาลเจ้าของ อิตสึคุชิม่าของลัทธิ ชินโตสร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 1136 เพื่อบูชาเทวีแห่งท้องทะเล 3 องค์ซึ่งเป็นธิดาของ อะมาเตราสุเทวี ซึ่งคอยปกป้องรักษาและคุ้มครองภัยจากทะเล โดยห้ามไม่ให้การคลอดบุตรบนเกาะ ถ้ามีคนป่วยให้ย้ายออก เพื่อป้องกันไม่ให้คนเสียชีวิตบนเกาะ ซึ้งเชื่อว่าจะทำให้เกาะนี้มีความบริสุทธิ์อยู่เสมอ

หลังจากนั้นผู้ครอบครองเกาะคือท่าน ไทระ โนะ คิโยโมริ Taira no kiyamori มีบัญชาให้สร้างศาลเจ้าหลังใหม่ขึ้นในปี พ.ศ. 1171 โดยให้ตังอาคารออกไปทางทะเลบนเสาตอม่อ ช่วงที่น้ำขึ้นเต็มที่จึงทำให้มองดูเหมือนว่า ศาลเจ้าแห่งนี้ลอยอยู่บนผิวน้ำ คนญี่ปุ่นและชาวต่างประเทศจึงเรียกศาลเจ้าแห่งนี้ว่า ศาลเจ้าลอยน้ำ




ปราสาทโอซาก้า (Osakaju)
หอคอยของปราสาทจะถูกล้อมรอบด้วยป้อมปราการ, ประตู, ป้อมปืน, กำแพงหินที่สวยงาม และคูน้ำรอบปราสาท สวนภายในปราสาทจะมีพื้นที่ประมาณ 2 ตารางกิโลเมตรซึ่งเป็พื้นที่ที่เต็มไปด้วยต้นซากุระ จึงกลายเป็นแหล่งที่นิยมอย่างมากในช่วงที่ดอกซากุระบาน

ปราสาทฮิโรชิมา (Hiroshima Castle)
เป็นปราสาทที่มีความสูงทั้งหมด 5 ชั้น ถูกล้อมรอบด้วยคูน้ำ ซึ่งปราสาทแห่งนี้นั้นเป็นปราสาทที่ถูกสร้างใหม่หลังจากผ่านช่วงสงคราม เป็นปราสาทไม้ตามฉบับปราสาทโดยทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น




โตเกียวดิสนีย์แลนด์ (ญี่ปุ่น: Tokyo Dizunirando)
เป็นสวนสนุกหนึ่งของโตเกียวดิสนีย์รีสอร์ต มีขนาดพื้นที่ 115 เอเคอร์ (465,000 ตารางกิโลเมตร) ตั้งอยู่ในที่เมืองอุระยะซุ
 โตเกียวดิสนีย์แลนด์เป็นสวนสนุกของดิสนีย์แห่งแรกที่สร้างขึ้นภายนอก สหรัฐอเมริกา เปิดให้บริการในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2526 ก่อสร้างโดยวอลต์ดิสนีย์อิเมจจิเนียร์ริง ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับดิสนีย์แลนด์ที่แคลิฟอร์เนียและแมจิกคิงดอมที่ ฟลอริดา ดำเนินงานโดยบริษัทโอเรียนทัลแลนด์คอมปานี ซึ่งได้รับลิขสิทธิ์จากเดอะวอลต์ดิสนีย์ ทั้งโตเกียวดิสนีย์แลนด์และโตเกียวดิสนีย์ซี ถือเป็นสวนสนุกเพียงแห่งเดียวที่วอลส์ดิสนีย์มิได้เป็นเจ้าของกิจการ
สวนสนุกแบ่งออกเป็นเจ็ดสวนสนุกย่อย เช่น เวิร์ลด์บาซาร์, แอดเวนเจอร์แลนด์, เวสเทิร์นแลนด์, แฟนตาซีแลนด์, และทูมอโรว์แลนด์ นอกจากนี้ยังมีสวนสนุกย่อยอีกสองแห่งคือ คริกเตอร์คันทรี, และมิกกี้ตูนทาวน์ ในปี 2009 โตเกียวดิสนี์แลนด์มีจำนวนผู้เข้าชมประมาณ 13.65 ล้านคน จัดอยู่ในอันดับที่สามของสวนสนุกดิสนีย์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดรองจากแมจิก คิงดอมที่ฟลอริดา และดิสนีย์แลนด์ที่แคลิฟอร์เนีย




ภูเขาไฟฟูจิ หรือ ฟูจิ ฮาโกเนะ
     ภูเขาไฟฟูจิ ได้รับการยกย่องว่าเป็นภูเขาที่สวยขนาดไม่มีภูเขาลูกใดมาเทียบเคียงได้ และทะเลสาบอาชิ ในฮาโกเนะก็เป็นทะเลสาบที่คนนิยมมาบันทึกภาพเก็บไว้บ่อยครั้งที่สุด พื้นที่ส่วนใหญ่ของฟูจิและฮาโกเนะถูกกำหนดให้เป็น อุทยานแห่งชาติ ภูเขาไฟฟูจิ โผล่พ้นผิวมหาสมุทรเป็นรูปกรวยคว่ำได้ส่วนงามสง่า แต่เดิมภูเขาไฟฟูจิเป็นดินแดนต้องห้ามของผู้หญิงมาเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว ตราบจนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1867 ความเชื่อดังกล่าวเริ่มถูกลบล้าง เมื่อหญิงชาวอังกฤษคนหนึ่งอาจหาญปีนขึ้นภูเขาลูกนี้ และทุกวันนี้นักปีนเขาราวครึ่งหนึ่งจาก 400,000 คนที่มาปีนภูเขาฟูจิในแต่ละปีเป็นผู้หญิง


Culture

วัฒนธรรม

                วัฒนธรรมญี่ปุ่นมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่วัฒนธรรมยุคโจมงซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศ จนถึงวัฒนธรรมผสมผสานร่วมสมัยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ศิลปะดั้งเดิมของญี่ปุ่นมีทั้งงานฝีมือ เช่น อิเกะบะนะ (การจัดดอกไม้) โอะริงะมิ อุกิโยะ-เอะ ตุ๊กตา เครื่องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา การแสดง เช่น คะบุกิ โน บุนระกุ ระกุโงะ และประเพณีต่าง ๆ เช่น การละเล่น พิธีชงชา ศิลปการต่อสู้ สถาปัตยกรรม การจัดสวน ดาบ และอาหาร การผสมผสานระหว่างภาพพิมพ์กับศิลปะตะวันตก นำไปสู่การสร้างสรรค์มังงะหรือหนังสือการ์ตูนของญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมทั้งในและนอกญี่ปุ่น แอนิเมชันที่ได้รับอิทธิพลมาจากมังงะเรียกว่า อะนิเมะ วงการเกมคอนโซลของญี่ปุ่นเจริญรุ่งเรืองอย่างมากตั้งแต่ พ.ศ. 2523







ศาสนา

                จากการสำรวจพบว่าคนญี่ปุ่นร้อยละ 51.8 ระบุว่าตนไม่มีศาสนา ศาสนาในญี่ปุ่นถูกผสมผสานจนทำให้พิธีกรรมทางศาสนานั้นมีความหลากหลาย เช่นพ่อแม่พาลูกไปศาลเจ้าชินโตเพื่อทำพิธีชิจิ-โกะ-ซัน แต่งงานในโบสถ์คริสต์และฉลองในวันคริสต์มาส จัดงานศพแบบพุทธ และบูชาบรรพบุรุษแบบขงจื๊อ นอกจากนี้ ตั้งแต่ต้นพุทธศตววรษที่ 25 มีลัทธิต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายเช่นลัทธิเทนริเกียว และลัทธิโอมชินริเกียว







ดนตรี

                ดนตรีญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมข้างเคียงเช่นจีนและคาบสมุทรเกาหลี รวมทั้งจากโอะกินะวะและฮกไกโด ตั้งแต่โบราณ เครื่องดนตรีหลายชิ้น เช่น บิวะ โคะโตะ ถูกนำเข้ามาจากจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 และชะมิเซ็งเป็นเครื่องดนตรีที่ดัดแปลงจากเครื่องดนตรีโอะกินะวะซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่กลางพุทธศตวรรษที่ 21 ญี่ปุ่นมีเพลงพื้นบ้านมากมาย เช่นเพลงที่ร้องระหว่างการเต้นบงโอะโดะริ เพลงกล่อมเด็ก ดนตรีตะวันตกเริ่มเข้ามาในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 และถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม หลังสงคราม ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางด้านดนตรีสมัยใหม่จากอเมริกาและยุโรปเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดการพัฒนาแนวดนตรีที่เรียกว่า เจ-ป็อป ญี่ปุ่นมีนักดนตรีคลาสสิกที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายคน เช่น วาทยากร เซจิ โอะซะวะ นักไวโอลิน มิโดะริ โกะโต เมื่อถึงช่วงสิ้นปี จะมีการเล่นคอนเสิร์ตซิมโฟนีหมายเลข 9 ของเบโทเฟนทั่วไปในญี่ปุ่น






วรรณกรรม

                วรรณกรรมญี่ปุ่นชิ้นแรกได้แก่หนังสือประวัติศาสตร์ที่ชื่อ โคะจิกิ และ นิฮงโชะกิ และหนังสือบทกวีสมัยศตวรรษที่ 8 ที่ชื่อ มังโยชู ซึ่งเขียนด้วยภาษาจีนทั้งหมด ในช่วงต้นของยุคเฮอัง มีการสร้างระบบการเขียนแทนเสียงที่เรียกว่า คะนะ (ฮิระงะนะ และ คะตะคะนะ) นิทานคนตัดไม้ไผ่ ถูกพิจารณาว่าเป็นงานที่เก่าแก่ที่สุดที่เขียนด้วยภาษาญี่ปุ่น ตำนานเก็นจิ ที่เขียนโดยมุระซะกิ ชิกิบุมักถูกเรียกว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของโลก ระหว่างยุคเอโดะ วรรณกรรมไม่อยู่ในความสนใจของซามูไรเท่ากับ โชนิน ชนชั้นประชาชนทั่วไป ตัวอย่างเช่น โยะมิฮง กลายเป็นที่นิยมและเผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งระหว่างนักอ่านกับนักเขียน ในสมัยเมจิ วรรณกรรมดั้งเดิมได้เสื่อมสลายลง ขณะที่วรรณกรรมญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น โซเซะกิ นะสึเมะและโองะอิ โมริเป็นนักแต่งนิยายสมัยใหม่รุ่นแรกของญี่ปุ่น ตามมาด้วย ริวโนะซุเกะ อะคุตะกะวะ, ทะนิซะกิ จุนอิชิโระ, ยะซุนะริ คะวะบะตะ, มิชิมะ ยุกิโอะ และล่าสุด ฮะรุกิ มุระกะมิ ญี่ปุ่นมีนักเขียนที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม 2 คน ได้แก่ ยะซุนะริ คะวะบะตะ (พ.ศ. 2511) และ เค็นซะบุโร โอเอะ (พ.ศ. 2537)







กีฬา

                หลังจากการปฏิรูปเมจิ กีฬาตะวันตกก็เริ่มเข้ามาในญี่ปุ่นและแพร่หลายไปทั่วประเทศด้วยระบบการศึกษา ในญี่ปุ่นกีฬานับเป็นกิจกรรมยามว่างที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยพัฒนาวินัย การเคารพกฎกติกา และช่วยสั่งสมน้ำใจนักกีฬา ชาวญี่ปุ่นทุกวัยให้ความสนใจกับกีฬาทั้งในฐานะผู้ชมและผู้เล่นกีฬาที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น ได้แก่ ซูโม่เป็นกีฬาประจำชาติของญี่ปุ่นที่มีประวัติอันยาวนาน และเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างมากในญี่ปุ่น ศิลปะป้องกันตัวของญี่ปุ่น เช่น ยูโด คาราเต้ และเคนโด้ ก็เป็นกีฬาที่มีผู้เล่นและผู้ชมมากเช่นเดียวกัน

                การแข่งขันเบสบอลอาชีพในญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ. 2479 มี 2 ลีก คือเซ็นทรัลลีกและแปซิฟิกลีก ในปัจจุบันเบสบอลเป็นกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดในประเทศ ในระหว่างฤดูกาลการแข่งขัน จะมีการถ่ายทอดการแข่งขันเกือบทุกคืนและมีอัตราผู้ชมรายการที่สูง นักเบสบอลญี่ปุ่นที่โด่งดังที่สุดคือ อิจิโร ซุซุกิ และ ฮิเดะกิ มัตซุย

                ตั้งแต่มีการก่อตั้งลีกฟุตบอลอาชีพของญี่ปุ่น ใน พ.ศ. 2535 ฟุตบอลในประเทศญี่ปุ่นก็เป็นที่นิยมมากขึ้น ญี่ปุ่นเป็นสถานที่จัดฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 ถึง พ.ศ. 2547 และเป็นเจ้าภาพร่วมกับเกาหลีใต้ในการแข่งฟุตบอลโลก 2002 ทีมฟุตบอลญี่ปุ่นเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในเอเชีย สามารถชนะเลิศเอเชียนคัพ 3 ครั้ง






อาหาร
                ชาวญี่ปุ่นกินข้าวเป็นอาหารหลัก อาหารญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงได้แก่ซูชิ เทมปุระ สุกียากี้ ยากิโทริและโซบะ อาหารญี่ปุ่นหลายอย่างดัดแปลงจากอาหารต่างประเทศ เช่นทงคัตสึ ราเม็งและแกงกะหรี่ญี่ปุ่น อาหารญี่ปุ่นได้รับความนิยมในต่างประเทศเพราะเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จากการสำรวจพบว่าในปี 2006 มีร้านอาหารญี่ปุ่นมากกว่า 20,000 แห่งทั่วโลก

ชาวญี่ปุ่นมีความพิถีพิถันในการเลือกวัตถุดิบจึงทำให้มีอาหารประจำท้องถิ่นและอาหารประจำฤดู วัตถุดิบที่เป็นเอกลักษณ์ในอาหารญี่ปุ่นคือถั่วเหลือง ซึ่งนำมาทำโชยุ มิโสะ เต้าหู้ ถั่วแดงซึ่งมักนำมาทำขนม และสาหร่ายชนิดต่าง ๆ เช่นคอมบุ นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นยังนิยมกินซะชิมิหรืออาหารทะเลดิบอีกด้วย ชาในญี่ปุ่นมีหลายชนิดซึ่งแตกต่างไปตามกรรมวิธีการผลิตและส่วนผสม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต้นกำเนิดจากญี่ปุ่นคือเหล้าสาเก (หรือนิฮงชุ ในภาษาญี่ปุ่น) ซึ่งผลิตโดยใช้วิธีหมักข้าว และโชชูซึ่งเป็นเหล้าที่เกิดจากการกลั่น



Demographics

ประชากร

                จากการสำรวจใน พ.ศ. 2548 ญี่ปุ่นมีประชากรประมาณ 127.77 ล้านคน ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาและมีวัฒนธรรมที่เหมือนกัน โดยมีชาวต่างชาติ เช่นชาวเกาหลี จีน บราซิล ฟิลิปปินส์ และชาติอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 1.2 ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ เชื้อชาติส่วนใหญ่คือเชื้อสายชาวยะมะโตะ และมีชนกลุ่มน้อยเช่นชาวไอนุและชาวริวกิว รวมทั้งชนกลุ่มน้อยทางสังคมที่เรียกว่าบุระกุ

                ประชากรญี่ปุ่นมีอายุคาดหมายเฉลี่ยประมาณ 82.07 ปี จึงนับเป็นประเทศที่มีประชากรอายุยืนยาวที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โครงสร้างประชากรของญี่ปุ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเด็กที่เกิดมาในยุคเบบี้บูมหลังสงครามโลกเริ่มเข้าสู่วัยชรา ในขณะที่อัตราการเกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2532 มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ จึงทำให้จำนวนประชากรค่อย ๆ ลดลง (มีการประมาณว่าจะลดลงต่ำกว่า 100 ล้านคนในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 25) ในขณะที่สัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ (ในปี พ.ศ. 2548 ประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมีมากถึง 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด) การที่โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไปทำให้เกิดปัญหาสังคมหลายอย่าง เช่นปัญหาแรงงานที่ลดลง และภาระเงินบำนาญของคนหนุ่มสาวเพิ่มมากขึ้น






จำนวนประชากร


ที่
เมือง
จังหวัด
ประชากร
1
โตเกียว
โตเกียว
8,949,447
2
โยะโกะฮะมะ
คะนะกะวะ
3,689,603
3
โอซะกะ
โอซะกะ
2,666,371
4
นะโงะยะ
ไอชิ
2,263,907
5
ซัปโปะโระ
ฮอกไกโด
1,914,434
6
โกเบ
เฮียวโงะ
1,544,873
7
เคียวโตะ
เคียวโตะ
1,474,473
8
ฟุกุโอะกะ
ฟุกุโอะกะ
1,463,826
9
คะวะซะกิ
คะนะกะวะ
1,425,678
10
ไซตะมะ
ไซตะมะ
1,222,910
11
ฮิโระชิมะ
ฮิโระชิมะ
1,174,209
12
เซ็นได
มิยะงิ
1,045,903
13
คิตะกีวชู
ฟุกุโอะกะ
977,288
14
ชิบะ
ชิบะ
962,130
15
ซะไก
โอซะกะ
842,134
16
นีงะตะ
นีงะตะ
812,192
17
ฮะมะมัตสึ
ชิซุโอะกะ
800,912
18
คุมะโมะโตะ
คุมะโมะโตะ
734,294
19
ซะงะมิฮะระ
คะนะกะวะ
717,561
20
ชิซุโอะกะ
ชิซุโอะกะ
716,328



Economy

เศรษฐกิจ

                หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้รับความบอบช้ำจากสงครามเป็นอย่างมาก แต่ก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเพราะปัจจัยหลายอย่างเช่นการแทรกแซงของรัฐบาล แรงงานที่ถูกและมีคุณภาพ อัตราการออมและการลงทุนที่สูง ในช่วงระหว่าง พ.ศ.2500-2520 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างมาก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500, 2510 และ 2520 เฉลี่ยร้อยละ 10, 5 และ 4 ตามลำดับ โดยได้รับการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธทศวรรษที่ 2510 ญี่ปุ่นประสบปัญหาค่าเงินเยนแข็งตัวจนทำให้บริษัทจำนวนมากย้ายฐานการผลิตออกไปนอกประเทศ หลังจากเกิดฟองสบู่แตกต้นพุทธทศวรรษที่ 2530 เศรษฐกิจก็เริ่มชะลอตัว และส่งผลต่อเนื่องตลอดพุทธทศวรรษที่ 2530 รัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ และยังถูกซ้ำเติมจากผลกระทบของเศรษฐกิจชะลอตัวในปี พ.ศ. 2543 สภาพเศรษฐกิจหลังจากปี พ.ศ. 2548 ดูเหมือนจะฟื้นตัวขึ้นจากตัวเลขการขยายตัวของจีดีพีที่สูงขึ้น แต่ญี่ปุ่นก็กลับประสบปัญหาอีกครั้งเมื่อเกิดวิกฤติทางการเงินที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก แม้ว่าธุรกิจภาคการเงินของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เพราะทศวรรษแห่งภาวะเศรษฐกิจซบเซาที่ทำให้ญี่ปุ่นระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น[86] แต่การที่ญี่ปุ่นพึ่งพาการส่งออกรถยนต์และสินค้าอิเลคโทรนิคมากเกินไปก็ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ และทำให้เกิดปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

                ญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา เมื่อวัดด้วยจีดีพีก่อนปรับอัตราเงินเฟ้อ (ประมาณ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) และอันดับที่ 3 รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน เมื่อวัดด้วยอำนาจการซื้อ ญี่ปุ่นมีกำลังการผลิตที่สูงและเป็นประเทศต้นกำเนิดของผู้ผลิตชั้นนำที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร เหล็กกล้า โลหะนอกกลุ่มเหล็ก เรือ สารเคมี

                จากข้อมูลใน พ.ศ. 2548 แรงงานของประเทศญี่ปุ่นมีจำนวน 66.7 ล้านคน ญี่ปุ่นมีอัตราว่างงานที่ต่ำคือประมาณร้อยละ 4 ค่าจีดีพีต่อชั่วโมงการทำงานอยู่ในอันดับที่ 20 ของโลกใน พ.ศ. 2548 และเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย บริษัทใหญ่ของญี่ปุ่นหลายแห่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เช่นโตโยต้า โซนี่ เอ็นทีที โดโคโม แคนนอน ฮอนด้า ทาเคดา นินเทนโด นิปปอน สตีล และ เซเว่น อีเลฟเว่น ญี่ปุ่นเป็นต้นกำเนิดของธนาคารที่ใหญ่ที่สุดหลายแห่งตลาดหลักทรัพย์โตเกียวซึ่งมักจะเป็นที่รู้จักเพราะดัชนีนิเคอิมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกเมื่อวัดด้วยมูลค่าตลาด

                ญี่ปุ่นมีลักษณะเฉพาะในการทำธุรกิจหลายอย่าง เช่นเคเระสึหรือระบบเครือข่ายบริษัทจะมีอิทธิพลในเชิงธุรกิจ การจ้างงานตลอดชีวิตและการเลื่อนขั้นตามความอาวุโสจะพบเห็นได้ทั่วไป บริษัทที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจจะถือหุ้นของกันและกัน ผู้ถือหุ้นมักจะไม่มีบทบาทกับการบริหารของบริษัท แต่ในปัจจุบันญี่ปุ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงออกจากระบบเก่า ๆ เหล่านี้

                ใน พ.ศ.2548 พื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรกรรมมีเพียงร้อยละ 12.6 และมีประชากรที่ประกอบการเกษตรเพียงร้อยละ 6.6เท่านั้น ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตได้มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ได้แก่ไหม กะหล่ำปลี ข้าว มัน และชา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารถึงร้อยละ 60 จึงเป็นประเทศที่มีอัตราการเลี้ยงตนเองค่อนข้างต่ำในระยะหลังกระแสความกังวลเรื่องความปลอดภัยของอาหารทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศเป็นที่ต้องการมากขึ้น



โครงสร้างพื้นฐาน


                ใน พ.ศ. 2548 ร้อยละ 50 ของพลังงานที่ใช้ในญี่ปุ่นผลิตจากปิโตรเลียม ร้อยละ 20 จากถ่านหิน ร้อยละ 14 จากก๊าซธรรมชาติ การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์มีปริมาณหนึ่งในสี่ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด แต่หลังจากเกิดเหตุอุบัติเหตุนิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ รัฐบาลญี่ปุ่นก็วางแผนที่จะเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์ภายในทศวรรษที่ 2570

                ญี่ปุ่นมีบริษัทรถไฟหลายแห่ง เช่นกลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น รถไฟฮังคิว รถไฟเซบุ และบริษัทเคโอ ซึ่งแข่งขันกันด้านบริการในพื้นที่ต่าง ๆ ปัจจุบัน รถไฟชินกันเซ็นซึ่งเปิดใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 มีเครือข่ายเชื่อมโยงเมืองหลักเกือบทั่วประเทศ รถไฟของญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในเรื่องตรงต่อเวลา

                การเดินทางโดยเครื่องบินเป็นที่นิยมและมีสนามบิน 173 แห่งทั่วประเทศ สนามบินฮาเนดะที่ส่วนใหญ่ให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศเป็นสนามบินที่หนาแน่นที่สุดในเอเชีย สนามบินนานาชาติที่สำคัญได้แก่สนามบินนาริตะ สนามบินคันไซ และสนามบินนานาชาตินาโงยา แต่การก่อสร้างสนามบินบางแห่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้งบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าเพื่อประโยชน์ใช้สอยจริง สนามบินบางแห่งขาดทุนมาตลอดตั้งแต่เปิดทำการ






วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                ญี่ปุ่นเป็นประเทศแนวหน้าในการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนหลักญี่ปุ่นมีจำนวนการขอสิทธิบัตรเป็นอันดับ 3 ของโลกตัวอย่างของผลงานทางเทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่สำคัญ ได้แก่อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ เครื่องจักร วิศวกรรมด้านแผ่นดินไหวที่สร้างขึ้นมาเพื่ออยู่รอด สารเคมี สารกึ่งตัวนำ และเหล็ก เป็นต้น ญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุด เป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นประเทศต้นกำเนิดของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ 6 บริษัทจากผู้ผลิต 15 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด และผู้ผลิตสารกึ่งตัวนำ 7 บริษัทจาก 20 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด

                ญี่ปุ่นยังเป็น หนึ่งในผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม รถยนต์ไฮบริด ซึ่งได้เทคโนโลยีมาจากเยอรมัน อังกฤษ และ สหรัฐอเมริกาของฮอนด้าและโตโยต้าเป็นที่ยอมรับว่าประหยัดพลังงานมากที่สุดและปล่อยควันเสียได้น้อยซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามของเทคโนโลยีระบบไฮบริด เชื้อเพลิง ญี่ปุ่นมีจำนวนสิทธิบัตรในด้านเซลล์เชื้อเพลิงเป็นอันดับหนึ่งของโลก

                องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนางานด้านอวกาศ สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยาของญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในสมาชิกของโครงการความร่วมมือการสร้างสถานีอวกาศนานาชาติและโมดูลคิโบ มีกำหนดที่จะส่งขึ้นไปเพื่อต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติในการขนด้วยกระสวยอวกาศใน พ.ศ. 2552