หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ญี่ปุ่นได้รับความบอบช้ำจากสงครามเป็นอย่างมาก
แต่ก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเพราะปัจจัยหลายอย่างเช่นการแทรกแซงของรัฐบาล
แรงงานที่ถูกและมีคุณภาพ อัตราการออมและการลงทุนที่สูง ในช่วงระหว่าง
พ.ศ.2500-2520 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างมาก
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500, 2510
และ 2520 เฉลี่ยร้อยละ 10, 5
และ 4 ตามลำดับ โดยได้รับการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกา
ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธทศวรรษที่ 2510
ญี่ปุ่นประสบปัญหาค่าเงินเยนแข็งตัวจนทำให้บริษัทจำนวนมากย้ายฐานการผลิตออกไปนอกประเทศ
หลังจากเกิดฟองสบู่แตกต้นพุทธทศวรรษที่ 2530
เศรษฐกิจก็เริ่มชะลอตัว และส่งผลต่อเนื่องตลอดพุทธทศวรรษที่ 2530
รัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
และยังถูกซ้ำเติมจากผลกระทบของเศรษฐกิจชะลอตัวในปี พ.ศ. 2543 สภาพเศรษฐกิจหลังจากปี
พ.ศ. 2548
ดูเหมือนจะฟื้นตัวขึ้นจากตัวเลขการขยายตัวของจีดีพีที่สูงขึ้น
แต่ญี่ปุ่นก็กลับประสบปัญหาอีกครั้งเมื่อเกิดวิกฤติทางการเงินที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก แม้ว่าธุรกิจภาคการเงินของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
ๆ เพราะทศวรรษแห่งภาวะเศรษฐกิจซบเซาที่ทำให้ญี่ปุ่นระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น[86]
แต่การที่ญี่ปุ่นพึ่งพาการส่งออกรถยนต์และสินค้าอิเลคโทรนิคมากเกินไปก็ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ
และทำให้เกิดปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่
2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา
เมื่อวัดด้วยจีดีพีก่อนปรับอัตราเงินเฟ้อ (ประมาณ 4.5
ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) และอันดับที่
3 รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน
เมื่อวัดด้วยอำนาจการซื้อ ญี่ปุ่นมีกำลังการผลิตที่สูงและเป็นประเทศต้นกำเนิดของผู้ผลิตชั้นนำที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่าง
ๆ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร เหล็กกล้า โลหะนอกกลุ่มเหล็ก
เรือ สารเคมี
จากข้อมูลใน
พ.ศ. 2548 แรงงานของประเทศญี่ปุ่นมีจำนวน 66.7
ล้านคน ญี่ปุ่นมีอัตราว่างงานที่ต่ำคือประมาณร้อยละ
4 ค่าจีดีพีต่อชั่วโมงการทำงานอยู่ในอันดับที่ 20
ของโลกใน พ.ศ. 2548 และเป็นอันดับ 1
ของเอเชีย บริษัทใหญ่ของญี่ปุ่นหลายแห่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลก
เช่นโตโยต้า โซนี่ เอ็นทีที โดโคโม แคนนอน ฮอนด้า ทาเคดา นินเทนโด นิปปอน สตีล และ
เซเว่น อีเลฟเว่น
ญี่ปุ่นเป็นต้นกำเนิดของธนาคารที่ใหญ่ที่สุดหลายแห่งตลาดหลักทรัพย์โตเกียวซึ่งมักจะเป็นที่รู้จักเพราะดัชนีนิเคอิมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ
2 ของโลกเมื่อวัดด้วยมูลค่าตลาด
ญี่ปุ่นมีลักษณะเฉพาะในการทำธุรกิจหลายอย่าง
เช่นเคเระสึหรือระบบเครือข่ายบริษัทจะมีอิทธิพลในเชิงธุรกิจ
การจ้างงานตลอดชีวิตและการเลื่อนขั้นตามความอาวุโสจะพบเห็นได้ทั่วไป
บริษัทที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจจะถือหุ้นของกันและกัน ผู้ถือหุ้นมักจะไม่มีบทบาทกับการบริหารของบริษัท แต่ในปัจจุบันญี่ปุ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงออกจากระบบเก่า
ๆ เหล่านี้
ใน
พ.ศ.2548 พื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรกรรมมีเพียงร้อยละ 12.6
และมีประชากรที่ประกอบการเกษตรเพียงร้อยละ 6.6เท่านั้น
ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตได้มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ได้แก่ไหม กะหล่ำปลี
ข้าว มัน และชา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารถึงร้อยละ 60
จึงเป็นประเทศที่มีอัตราการเลี้ยงตนเองค่อนข้างต่ำในระยะหลังกระแสความกังวลเรื่องความปลอดภัยของอาหารทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศเป็นที่ต้องการมากขึ้น
โครงสร้างพื้นฐาน
ใน
พ.ศ. 2548 ร้อยละ 50
ของพลังงานที่ใช้ในญี่ปุ่นผลิตจากปิโตรเลียม ร้อยละ 20
จากถ่านหิน ร้อยละ 14 จากก๊าซธรรมชาติ การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์มีปริมาณหนึ่งในสี่ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด แต่หลังจากเกิดเหตุอุบัติเหตุนิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ
รัฐบาลญี่ปุ่นก็วางแผนที่จะเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์ภายในทศวรรษที่ 2570
ญี่ปุ่นมีบริษัทรถไฟหลายแห่ง
เช่นกลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น รถไฟฮังคิว รถไฟเซบุ และบริษัทเคโอ
ซึ่งแข่งขันกันด้านบริการในพื้นที่ต่าง ๆ ปัจจุบัน
รถไฟชินกันเซ็นซึ่งเปิดใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2507
มีเครือข่ายเชื่อมโยงเมืองหลักเกือบทั่วประเทศ
รถไฟของญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในเรื่องตรงต่อเวลา
การเดินทางโดยเครื่องบินเป็นที่นิยมและมีสนามบิน
173 แห่งทั่วประเทศ
สนามบินฮาเนดะที่ส่วนใหญ่ให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศเป็นสนามบินที่หนาแน่นที่สุดในเอเชีย สนามบินนานาชาติที่สำคัญได้แก่สนามบินนาริตะ
สนามบินคันไซ และสนามบินนานาชาตินาโงยา แต่การก่อสร้างสนามบินบางแห่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้งบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าเพื่อประโยชน์ใช้สอยจริง สนามบินบางแห่งขาดทุนมาตลอดตั้งแต่เปิดทำการ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ญี่ปุ่นเป็นประเทศแนวหน้าในการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนหลักญี่ปุ่นมีจำนวนการขอสิทธิบัตรเป็นอันดับ
3
ของโลกตัวอย่างของผลงานทางเทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่สำคัญ ได้แก่อิเล็กทรอนิกส์
รถยนต์ เครื่องจักร วิศวกรรมด้านแผ่นดินไหวที่สร้างขึ้นมาเพื่ออยู่รอด สารเคมี
สารกึ่งตัวนำ และเหล็ก เป็นต้น ญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุด เป็นอันดับ 3
ของโลก เป็นประเทศต้นกำเนิดของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์
6 บริษัทจากผู้ผลิต 15
บริษัทที่ใหญ่ที่สุด และผู้ผลิตสารกึ่งตัวนำ 7
บริษัทจาก 20 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด
ญี่ปุ่นยังเป็น
หนึ่งในผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม รถยนต์ไฮบริด
ซึ่งได้เทคโนโลยีมาจากเยอรมัน อังกฤษ และ
สหรัฐอเมริกาของฮอนด้าและโตโยต้าเป็นที่ยอมรับว่าประหยัดพลังงานมากที่สุดและปล่อยควันเสียได้น้อยซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามของเทคโนโลยีระบบไฮบริด
เชื้อเพลิง ญี่ปุ่นมีจำนวนสิทธิบัตรในด้านเซลล์เชื้อเพลิงเป็นอันดับหนึ่งของโลก
องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนางานด้านอวกาศ
สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยาของญี่ปุ่น
และเป็นหนึ่งในสมาชิกของโครงการความร่วมมือการสร้างสถานีอวกาศนานาชาติและโมดูลคิโบ
มีกำหนดที่จะส่งขึ้นไปเพื่อต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติในการขนด้วยกระสวยอวกาศใน พ.ศ.
2552
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น